วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

เทคนิคการบริหารแบบสมัยใหม่

เทคนิคการบริหารแบบสมัยใหม่

การบริหารการมีส่วนร่วม (Participative Management) : PM
การบริหารแบบมีส่วนร่วม เป็นการดำเนินการของฝ่ายบริหารที่จะจูงใจให้โอกาสแก่ผู้ปฏิบัติงานในองค์การได้มีประโยชน์ในการเสนอแนะ ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ และร่วมพัฒนางานด้วยความเต็มใจ อุทิศแรงกาย แรงใจ มุ่งมั่นต่องานเสมือนว่าตนเป็นเจ้าขององค์การนั้น
ประโยชน์ของการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม
1. ช่วยสร้างความสามัคคีและรวมพลังบุคลากรในองค์การ
2. ทราบถึงความต้องการในการพัฒนาขององค์การ
3. เพิ่มพูนประสิทธิภาพการทำงานให้สูงขึ้น ลดความเฉื่อยชาในการปฏิบัติงาน
4. ช่วยลดความขัดแย้งและการต่อต้านจากบุคลากรระดับปฏิบัติการ
5. สร้างบรรยากาศในการทำงาน
6. ช่วยเพิ่มผลผลิตในองค์การ
7. สร้างสรรค์หลักประชาธิปไตย
8. ทำให้บุคลากรขององค์การเกิดความรู้สึกว่าเขาเป็นส่วนหนึ่งขององค์การ
ไคเซ็น (KAIZEN)
“ไคเซ็น” เป็นเรื่องเกี่ยวกับการปรับปรุงคุณภาพของกระบวนการปฏิบัติงานซึ่งหมายถึง “ทำให้ดีขึ้น” จึงเป็นที่จะต้องลงมือปฏิบัติงาน ซึ่งวัตถุประสงค์หลักของ ไคเซ็น คือ การพัฒนาพนักงานให้รู้จักคิด รู้จักตระหนัก และหาวิธีการปรับปรุงงานในความรับผิดชอบของตนเองให้ดีขึ้นอยู่เสมอ
KEY PERFORMANCE INDICATORS : KPI
เทคนิค KPI หมายถึง ตัวชี้วัดผลของการปฏิบัติงาน ได้แก่ สิ่งที่ทำเป็นหลักฐานเชิงรูปธรรม สิ่งที่พบได้จากการสังเกต และสิ่งที่วัดเชิงปริมาณได้
วิธีการใช้เทคนิค KPI
1. วิเคราะห์ผลการปฏิบัติงาน หรือผลลัพธ์ที่เป็นคุณลักษณะสำคัญของผลผลิต (Output)
ผลลัพธ์ (Outcome) และผลกระทบ (Impact) สิ่งที่เกิดจากกระบวนการดำเนินงานขององค์การ
2. จากผลลัพธ์ที่ได้นำมาวิเคราะห์ระบุหลักฐานเชิงรูปธรรมที่แสดงถึงผลลัพธ์ที่ต้องการ
3. เขียนตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานในเชิงปริมาณ เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ตัดสินผลการปฏิบัติ งานจริง

2.การบริหารเวลา (Time Management)
การบริหารเวลา หมายถึง การดำเนินงานให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้โดยอาศัยปัจจัยทั้งหลาย ได้แก่ คน เงิน วัสดุอุปกรณ์ ในการบริหารงานนั้น ซึ่งเป็นการทำงานอย่างเป็นระบบโดยใช้เวลาน้อย แต่ให้ผลคุ้มค่ามากที่สุด
หลักการบริหารเวลา มีอยู่ 4 ประการ
1. ทำทันเวลา
2. ทำถูกเวลา
3. ทำตามเวลา
4. ทำตรงเวลา
การบริหารเวลาให้เกิดประสิทธิภาพ ควรดำเนินการดังต่อไปนี้
1. การวางแผน
2. การจัดเวลาให้เหมาะกับคน
3. การสั่งการ
4. การควบคุมในการทำงาน
ซึ่งการบริหารเวลาที่เป็นที่นิยมกันในปัจจุบันคือ เทคนิคการบริหารเวลาแบบ Gantt Chart
และแบบ PERT. และ CMP. มาใช้
การบริหารงานโดยยึดวัตถุประสงค์ (Management By Objective) : MBO
การบริหารงานโดยยึดวัตถุประสงค์ เป็นเทคนิคการบริหารงานที่จัดอยู่ในรูปแบบการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม เป็นรูปแบบการบริหารงานในปัจจุบันซึ่งจะให้ความสำคัญกับบุคลากรในองค์การ โดยมีแนวความคิดว่า การบริหารงานหรือการทำงานนั้น ควรตอบสนองความต้องการของคน เห็นความสำคัญของการทำงานในลักษณะร่วมแรงร่วมใจกันซึ่งให้ได้ผลงานที่ดีกว่าการบังคับ หรือลงโทษ เปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงานได้แสดงความคิดเห็นและรับผิดชอบร่วมกัน
องค์ประกอบที่สำคัญของ MBO ที่จะทำงานให้มีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย
1. การกำหนดวัตถุประสงค์ในระดับสูง
2. การกำหนดวัตถุประสงค์ในระดับปฏิบัติ
3. การมีส่วนร่วม และมีสามัญสำนึกในความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติ
4. ความมีอิสระในการทำงาน
5. การทบทวนผลการปฏิบัติงาน

3.MBO เป็นเทคนิคการบริหารงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของงานให้สำเร็จมีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผล แต่ปัจจัยหลักของการทำงานชนิดนี้ ยังอยู่ที่ตัวบุคคลโดยเฉพาะหัวหน้างาน ต้องใช้ศาสตร์ความเป็นผู้นำ ใช้ศิลปะการทำงานร่วมกับคน ใช้คนให้เหมาะกับงาน สร้างขวัญกำลังใจให้ทุกคนเห็นความจำเป็นของความสำเร็จของงานตามที่ได้รับมอบหมายไว้ร่วมกัน

การบริหารงานแบบการเดิน MBWA
การบริหารงานแบบ MBWA เป็นการบริหารงานที่สร้างความเป็นกันเองให้กับผู้ร่วมงานโดยผู้บริหารเดินไปเยี่ยมเยียนพูดคุยกับบุคลากรในหน่วยงานต่างๆ ทุกหน่วยให้มากขึ้นเพราะจะเป็นประโยชน์ต่อการบริหารงานหลายประการ เช่น
1. จะได้เห็นและรู้จักหน่วยงานต่างๆทุกหน่วยงานด้วยตัวท่านเอง
2. เป็นการให้ความสำคัญแก่บุคลากร ซึ่งจะทำให้บุคลากรมรกำลังใจในการทำงานมากขึ้น
3. เป็นการแสดงให้เห็นถึงความสนใจในการทำงานของบุคลากรนั้นๆ
4. ช่วยในการติดตามและประเมินผลการทำงานของบุคลากรได้อย่างใกล้ชิด
5. ช่วยในการประสานงาน อำนวยความสะดวก นิเทศงาน
การพัฒนาบุคลากร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน (Situation Objective Strategy) : SOS
เทคนิคที่สำคัญของการบริหารงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของของการทำงานให้สำเร็จ
1. S = Situation คือ สถานการณ์ ความรู้ที่เกี่ยวกับตัวเรา เราอยู่ที่ไหน กับใคร เกิดอะไร
ขึ้นซึ่งก็หมายถึงสิ่งแวดล้อมตัวเรานั่นเอง
2. O = Objective คือ เป้าหมาย ว่าต้องการอะไร จะไปที่ไหน ต้องการความสำเร็จมาก
น้อยแค่ไหน อย่างไร
3. S = Strategy คือ กลวิธี รู้ว่าจะไปถึงเป้าหมาย จะไปที่นั่นได้อย่างไร
กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบริหารแบบ SOS ได้แก่ กิจกรรม 5 ส. กิจกรรม QC
กิจกรรม SS กิจกรรม TPD จึงจะทำให้การบริหารงานแบบ SOS ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์
การรื้อระบบ (Reengineering)
การรื้อระบบ เป็นเรื่องของการปรับเปลี่ยนกระบวนการการเดิมไปโดยสิ้นเชิง ทั้งนี้การออกแบบกระบวนการใหม่ๆ จะไม่ยึดติดกับหลักการ กฎระเบียบ ความเชื่อและค่านิยมแบบเก่า แต่จะเริ่มต้นกันใหม่หมด และพยายามมองไปข้างหน้าเพื่อหาคำตอบแล้วค่อยย้อนกลับมาหากรรมวิธี โดยมุ่งเน้นถึงความต้องการของผู้ใช้บริการเป็นหลัก ซึ่งเครื่องมือที่ดีที่สุดของการรื้อระบบ จงไม่ใช่
4.เพียงแค่สภาพของปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน แล้วทำการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาอย่างลึกซึ้งเพื่อหาหนทางแก้ไขอย่างค่อยเป็นค่อยไป และการรื้อระบบนี้บุคลากรจะต้องเป็นการเอาจริงเอาจังทุกคน
การบริหารงานมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Results Based Management) : RBM
การบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงผลการปฏิบัติงานขององค์การ ไม่ใช่เพื่อให้รางวัลหรือลงโทษผู้ปฏิบัติ การที่ผลสัมฤทธิ์ขององค์การจะดีหรือไม่เพียงใดย่อมเป็น
ความรับผิดชอบร่วมกันของผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ การบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์เป็นเครื่องมือที่ผู้บริหารใช้วัดความก้าวหน้าของการดำเนินงานได้อย่างสม่ำเสมอ
Banlanced Scorecard เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ เนื่องจาก Banlanced Scorecard เป็นกรอบแนวทางในการวิเคราะห์หาปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จ และชี้วัด ผลการดำเนินงานหลักขององค์การเพื่อให้แน่ใจว่าได้พิจารณาองค์การจากมุมต่างๆอย่างครบถ้วน

ลักษณะของ Banlanced Scorecard แบ่งมุมมองขององค์การออกเป็น 4 ระดับ
1. มุมมองด้านองค์ประกอบภายในองค์การ ได้แก่ บุคลากร กระบวนการทำงานโครงสร้าง
องค์การ การบริหารทรัพยากรบุคคล พฤติกรรมในองค์การ วัฒนธรรมองค์การ ฯลฯ
2. มุมมองด้านผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์การ ได้แก่ รัฐบาล ประชาชนผู้รับบริการสาธารณชน
และสิ่งแวดล้อมภายนอกอื่นๆ ฯลฯ
3. มุมมองด้านวัตกรรม เป็นการมองไปข้างหน้าถึงความสามารถขององค์การที่จะปรับปรุง
เปลี่ยนแปลง พัฒนา คิดค้น เรียนรู้ ปฏิบัติอย่างมีกลยุทธ์ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในอนาคต
4. มุมมองด้านการเงิน เป็นมุมมองที่เกี่ยวกับพันธะรับผิดชอบขององค์การ ความประหยัด
ความมีประสิทธิภาพ ความคุ้มค่าของเงิน ผลิตภาพ การทุจริตและพฤติกรรมมิชอบ ฯลฯ
ประโยชน์ของการบริหารงานแบบ RBM
1. การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ซึ่งจะทำให้เจ้าหน้าที่ตระหนักถึงความสำคัญของงานที่ทำอยู่
ว่าส่งผลต่อปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จ
2. การสร้างพันธะรับผิดชอบของผู้ผู้บริหาร การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์เป็นกลไกที่
ยอดเยี่ยมสำหรับการสร้างพันธะรับผิดชอบ เพราะมีการวัดผลการปฏิบัติงานจากตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลักเปรียบเทียบกับเป้าหมายแล้วรายงานผลอย่างสม่ำเสมอ
3. การจัดสรรงบประมาณ การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ ช่วยให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับการ
ตัดสินใจเกี่ยวกับงบประมาณ
4. การกำหนดนโยบาย ข้อมูลจากการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์สามารถช่วยผู้บริหารให้กำหนด
นโยบายว่าองค์การควรเลือกทางเลือกใดในการบริหารองค์การ
5
5. การสื่อสารกับผู้มีส่วนได้เสียผลประโยชน์ ซึ่งจะทำให้ผู้มีส่วนได้เสียประโยชน์ทราบวัตถุ
ประสงค์ของหน่วยงานอย่างชัดเจน ทราบว่าปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จมีอะไร และองค์การจะวัดความสำเร็จตามที่ปัจจัยเหล่านั้นกำหนดได้อย่างไร

6.การบริหารการศึกษาไทยในยุคปฏิรูปการศึกษา
การกระจายอำนาจ
งานในองค์การทั่วไปจะประสบความสำเร็จได้ผู้บริหารไม่สามารถทำงานคนเดียวได้ การแบ่งงาน การมอบหมายงาน การกระจายงาน กระจายหน้าที่ ซึ่งถือว่ามีความสำคัญมาก ซึ่งการกระจายอำนาจเป็นการการมอบหมายงาน เป็นการกำหนด ความรับผิดชอบ และอำนาจหน้าที่ แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา และเป็นการสร้างภาระหน้าที่ด้านการปฏิบัติงาน ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการ
1.1 การกำหนดหน้าที่ หรือความรับผิดชอบแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา
1.2 การให้อำนาจหน้าที่ ในการใช้ทัพยากร และดำเนินกิจกรรมตามความจำเป็น
1.3 การสร้าง สิ่งที่จะต้องทำ หรือภาระผูกพัน ให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาที่จะต้องปฏิบัติตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายให้สำเร็จ
ประโยชน์ของการกระจายอำนาจ
1. เป็นการลดงานของผู้บริหารให้ลดน้อยลง
2. การตัดสินใจเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทำให้การปฏิบัติงานมีความสะดวกขึ้น
3. มีการกระจายงานกันทำ โดยมีฝ่ายบริหารเป็นผู้ควบคุม ประสานงาน
4. เป็นการพัฒนาบุคลากรทางการบริหาร ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีการพัฒนา
ความคิดริเริ่ม ความสามารถในตำแหน่งทางการบริหารให้มีคุณภาพ
5.ทำให้การควบคุมและการดูแลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะผู้บริหารระดับต้นมีอำนาจอย่างเต็มที่ ที่จะกำหนดงาน เปลี่ยนแปลงให้เกิดความเหมาะสม
6.เป็นการพัฒนาขวัญกำลังใจ และแรงจูงใจในการทำงาน เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้บริหารใหม่ได้ใช้ความคิดใหม่ๆ ในการบริหารงาน
การกระจายอำนาจเป็นการแบ่งอำนาจที่มีอยู่ให้ผู้อื่นสามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง โดย
การดำเนินงานที่แบ่งออกไปก็จะมีแนวปฏิบัติที่เหมือนจุดเสริม โดยทั่วไปจะมีการกระจายอำนาจ กระจายหน้าที่ กระจายความรับผิดชอบ กระจายคน กระจายงบประมาณไปยังแหล่งใหม่ ให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมือนแหล่งเดิม

การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School – Based Management : SBM)
การบริหารโรงเรียนเป็นฐานเป็นแนวความคิดที่เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา และได้เผยแพร่ไปยังประเทศต่างๆ โดยการบริหารงานแบบใช้โรงเรียนเป็นฐาน เป็นการกระจายอำนาจไปยังโรงเรียนที่เป็นหน่วยปฏิบัติ และให้ผู้มีส่วนร่วมบริหาร และจัดการศึกษา มีอำนาจในการจัด
7.การศึกษาอย่างอิสระ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารงานทางด้านต่างๆ โดยการบริหารนั้นจะต้องอยู่ภายใต้คณะกรรมการสถานศึกษาซึ่งประกอบด้วย ผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนครู ผู้แทนองค์องค์กรชุมชน ผู้แทนครู ผู้แทนศิษย์เก่า ผู้แทนนักเรียน ผู้แทนโรงเรียน เข้ามาด้วย โดยคณะกรรมการสถานศึกษาเหล่านี้จะมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้ตรงกับความต้องการของผู้เรียน ผู้ปกครอง และชุมชนให้มากที่สุด
การจัดการศึกษาในประเทศไทยได้นำ หลักการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ซึ่งปรากฎอยู่ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
หมวด 5 มาตรา 39 กำหนดให้กระทรวงกระจายอำนาจการบริหารจัดการศึกษา ทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารงานทั่วไป ไปยังเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาโดยตรง
มาตรา 40 ยังได้กำหนดให้มีคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรีของแต่ละสถานศึกษา เพื่อทำหน้าที่กำกับและส่งเสริม สนับสนุนกิจการของสถานศึกษา ประกอบด้วย ตัวแทนผู้ปกครอง ผู้แทนครู ผู้แทนองค์การชุมชน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนศิษย์เก่า ผู้ทรงคุณวุฒิ โดยให้ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นคณะกกรมการและเลขานุการของคณะกรรมการสถานศึกษา
การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ถือว่าเป็นนวัตกรรมทางการบริการที่ให้สถานศึกษามีอิสระในการบริหารและจัดการเรียนการสอน ที่สำคัญคือเป็นการคืนอำนาจให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอย่างแท้จริง และสถานศึกษาในแต่ละแห่งแต่ละแห่งอาจไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพาะและความจำเป็นของแต่ละโรงเรียน แต่ทุกโรงเรียนจะต้องตั้งอยู่บนหลักพื้นฐานเดียวกัน คือ
1.หลักการกระจายอำนาจ เป็นการคืนอำนาจการจัดการศึกษาให้กับประชาชน โดยกระจาย
อำนาจจากส่วนกลาง และเขตพื้นที่ ไปยังสถานศึกษา ซึ่งโรงเรียนเป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญในการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการศึกษาของเด็ก ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการศึกษา หรืออยู่ใกล้ชิดกับเด็กซึ่งจะสามารถจัดการศึกษาได้ตรงกับความต้องการของผู้เรียนและชุมชน และอำนาจการตัดสินใจที่แท้จริงควรอยู่ที่ระดับปฏิบัติ คือสถานศึกษา
2. หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม ผู้เกี่ยวข้องสามารถเข้ามามีส่วนร่วมกำหนดนโยบายและ
แผน ร่วมตัดสินใจ ร่วมกำหนดหลักสูตรท้องถิ่น ร่วมคิดร่วมทำ ฯลฯ โดยเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สามารถมีส่วนร่วมในการบริหาร สามารถตัดสินใจ และร่วมกันในการจัดการศึกษาให้มากที่สุด

3. หลักภาวะผู้นำแบบเกื้อหนุน เป็นภาวะผู้นำที่เน้นการสนับสนุนและอำนวยความสะดวก
และต้องไม่ใช่ภาวะผู้นำแบบชี้นำหรือสั่งการ
4. การพัฒนาทั้งระบบ ปรับปรุงโครงสร้างและวัฒนธรรมองค์กร โดยการเปลี่ยนแปลงเป็น
ระบบและได้รับความเห็นชอบ รวมทั้งได้รับการสนับสนุนจากผู้เกี่ยวข้อง
5. หลักการบริหารตนเอง สถานศึกษาจะต้องมีอิสระในการตัดสินใจด้วยตนเองมากขึ้น
ภายใต้การบริหารในรูปแบบองค์คณะบุคคล หรือคณะกรรมการโรงเรียน หรือคณะกรรมสถานศึกษา
6. ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ สถานศึกษาต้องมีความพร้อมให้มีการตรวจสอบ เพื่อให้
การบริหารและจัดการศึกษาเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ ทั้งนี้โรงเรียนจะต้องกำหนดหน้าที่ ความรับผิดชอบ และภาระกิจของผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา และชุมชนอย่างชัดเจน ภารกิจเหล่านี้ ต้องสามารถตรวจสอบความสำเร็จได้ เพื่อเป็นหลักปะกันคุณภาพการศึกษาให้เกิดขึ้นตามที่กำหนดไว้
ประโยชน์ของโรงเรียนที่บริหารโรงเรียนเป็นฐาน
1. สามารถสนองความต้องการของโรงเรียนและท้องถิ่นได้ดีขึ้น
2. สามารถกระตุ้นผู้มีประสบการณ์ มาช่วยเหลือได้มากขึ้น ในรูปแบบของคณะกรรมการ
3. ครูมีขวัญและกำลังใจดีขึ้น เพราะได้มีโอกาสคิดเอง ทำเอง และแสดงออกมากขึ้น
4. เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของ จากการรวมตัดสินใจ
5. สร้างผู้นำใหม่ในทุกระดับ
6. เพิ่มการติดต่อสื่อสาร
7. ประหยัดการใช้งบประมาณ
8. มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้
9. เกิดความคิดสร้างสรรค์ ในการพัฒนาหลักสูตร
10.แก้ปัญหาความขัดแย้งได้ดี เพราะครูได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็น
การบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี
“การนำหลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี หรือหลักธรรมาภิบาลมาใช้ มีความจำเป็น
อย่างยิ่งสำหรับประเทศไทย เพราะหลักธรรมภิบาลก็คือ การบริหารที่สามารถตรวจสอบได้ มีประสิทธิผล และเป็นระบบที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม”


9.หลักธรรมาภิบาลจะให้ความสำคัญกับองค์ประกอบ 3 ส่วน
1. ภาครัฐ ซึ่งจะมีส่วนเสริมสร้างและปฏิรูปการเมือง กฎหมาย และการบริหารราชการ
2. ภาคเอกชน ซึ่งจะมีส่วนในการประกอบธุรกิจที่ดี และดำเนินธุรกิจอย่างซื่อสัตย์สุจริต และมีความรับผิดชอบต่อสังคม ส่วนรวม ซึ่งจะทำให้ประเทศชาติมีความเจริญรุ่งเรือง
3. ภาคประชาชนหรือองค์การต่างๆ ซึ่งจะมีส่วนในการเกื้อหนุนในการดำเนินการทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง โดยการระดมกลุ่มต่างๆ ให้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ และสามารถตรวจสอบความถูกต้องทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชน ให้ตั้งอยู่ในความถูกต้องได้
หลักธรรมภิบาล เป็นนโยบายของรัฐบาลที่มอบหมายให้ทุกหน่วยงานนำไปบริหาร
หน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งมีหลักการที่สำคัญ 6 ประการ คือ
1.หลักนิติธรรม ได้แก่ การตรากฎหมาย กฎข้อบังคับต่างๆ ซึ่งให้ทุกคนปฏิบัติตาม
2.หลักคุณธรรม ได้แก่ การยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม
3.หลักความโปร่งใส ได้แก่ การสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันของคนในชาติ
4.หลักการมีส่วนร่วม ได้แก่ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนรับรู้และเสนอความคิดเห็นในการแก้ปัญหา
5.หลักความรับผิดชอบ ได้แก่ การตระหนักในสิทธิหน้าที่ ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม
6.หลักความคุ้มค่า ได้แก่ การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม
โครงสร้างความสัมพันธ์ของเขตพื้นที่การศึกษากับงานบริหารการศึกษา
มาตรา 9 ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 กำหนดให้มีการจัดระบบ
โครงสร้างและกระบวนการการจัดการศึกษาให้ยึดหลักเอกภาพด้านนโยบาย (1) มีหลักการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษาและองค์กรส่วนท้องถิ่น (2) ให้มีการระดมทรัพยากรจากแหล่งต่างๆมาใช้จัดการศึกษา (5) จัดให้มีการมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์การเอกชร องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการการและสถาบันสังคมอื่น ในมาตรา 39 กำหนดให้กะทรวงกระจายอำนาจบริหารและการจัดการศึกษา ทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารงานทั่วไป ไปยังคณะกรรมการและสำนักงานงานศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาโดยตรง